เมนู

การกระทำความติดในรสทั้งหลาย ที่อุทยานแล้ว เป็นผู้เลี้ยงคนอื่น ฉันใด
เราไม่เป็นฉันนั้น เป็นผู้วุ่นวายด้วยตัณหาใดแล้ว ทำความยินดีในรสทั้งหลาย
ภิกษุละตัณหานั้น ไม่เลี้ยงคนอื่น เพราะอัตภาพอื่นอันมีตัณหาเป็นมูลไม่เกิด
ต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง กิเลส เรียกว่า อญฺโญ (อื่น) เพราะอรรถว่าหักราน
ประโยชน์. ในข้อนี้มีอธิบายอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อว่า ไม่เลี้ยงคนอื่น เพราะไม่
เลี้ยงกิเลสเหล่านั้น.
บทว่า สปทานจารี ความว่า มีปกติเที่ยวไปด้วยการไม่ข้ามลำดับ
คือ มีปกติเที่ยวไปตามลำดับ ไม่ละลำดับแห่งเรือน เข้าไปสู่ตระกูลของคน
มั่งคั่งและตระกูลของคนยากจน เพื่อบิณฑบาตเนือง ๆ.
บทว่า กุเล กุเล ลปฺปฏิพทฺธจิตฺโต ความว่า ผู้มีจิตไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยอำนาจแห่งกิเลส ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในบรรดาตระกูลทั้งหลายมี
ตระกูลกษัตริย์เป็นต้น เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ดุจพระจันทร์. บทที่เหลือมีนัยที่
กล่าวแล้วนั่นแล.
รสเคธคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 32


คาถาว่า ปหาย ปญฺจาวรณานิ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในพระนครพาราณสี ทรงได้
ปฐมฌาน ท้าวเธอทรงสละราชสมบัติ เพื่อทรงตามรักษาฌาน ทรงผนวชแล้ว
เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เพื่อจะทรงแสดง
สัมปทาแห่งการปฏิบัติของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า